8xbet 8xscore 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet 8xbet คาสิโนพรีเมียม 8xbet คาสิโนสด 8xscore 8xbet 8xbet | เว็บไซต์เดิมพัน 8xbet เข้าสู่ระบบ เดิมพันกับ 8xbet 8xbet คาสิโนถูกกฎหมาย 8xbet คาสิโนออนไลน์อันดับ ผลบอลสด

ประวัติโรงเรียนบ้านปรางค์

              โรงเรียนบ้านปรางค์ เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๖๔ มีชื่อเดิมว่า “โรงเรียนปรางค์ปราสาท” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดปรางค์ในเขตธรณีสงฆ์ พื้นที่คับแคบขยายไม่ได้ ปี พ.ศ.๒๔๗๗ นายไชย อัมพะเศวต นายอำเภอปัว และ
นายสมบูรณ์  เหล็กชาย ศึกษาธิการอำเภอปัว ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งในสถานที่ปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า สร้างอาคารไม้
ชั้นเดียว แบบ ป๑
              พ.ศ.๒๕๐๑ นายกมล  จันทร์นวล นายอำเภอปัว และนางเป็ง  จันทรางกูร ศึกษาธิการอำเภอปัว  ได้ของบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการสร้างอาคารไม้ ๒ ชั้น แบบ ๐๐๔ ขนาด ๖ ห้องเรียน งบประมาณ ๗๕,๙๐๐ บาท (รื้อถอนแล้ว)  
              พ.ศ.๒๕๐๖ ทำการเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ ทางราชการได้ให้โรงเรียนปัว  ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา เปิดสอนชั้น ม.๑-๓ เรียนร่วมกับโรงเรียนปรางค์ปราสาท เพราะมีความจำเป็นต้องใช้อาคารเรียน และบริเวณโรงเรียนปัวเป็นที่ตั้งค่ายทหารตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ และหนังสืออำเภอปัวที่ ๑๐๙๓/๒๕๐๖ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๐๖ ใช้ชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนบ้านปรางค์”   
              พ.ศ.๒๕๑๐ ได้รับงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย สร้างโรงฝึกงานไม่มีฝา ๑ หลัง และต่อเติมอาคารเรียนออกไป
๔ ห้องเรียน ชั้นละ ๒ ห้องเรียน
              พ.ศ.๒๕๑๓ ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่านสร้างอาคารเรียน แบบ ๐๐๔ ขนาด๖ ห้องเรียน
งบประมาณ ๒๗๐,๐๐๐ บาท (รื้อถอนแล้ว)
              พ.ศ.๒๕๑๕ เปิดสอนระดับอนุบาล ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน  สร้างอาคารเรียนแบบ ป๑ ซ ขนาด ๓ ห้องเรียน ๑ หลัง งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท (รื้อถอนแล้ว)
              พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน  ให้สร้างอาคารเรียนแบบ ป ๒ ซ ขนาด  ๓  ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐  บาท สร้างในพื้นที่ของที่ว่าการอำเภอปัวเดิม  คือ อาคารเรียนในปัจจุบัน  โดยได้รับอนุมัติให้พื้นที่จากกรมธนารักษ์  และสร้างบ้านพักครู  ๒  หลัง  ด้วยงบประมาณหลังละ ๓๕,๐๐๐  บาท  (รื้อถอนแล้ว)  
              พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป๑ ซ ๓ ห้องเรียน ๑ หลัง งบประมาณ ๒๘๒,๐๐๐ บาท (รื้อถอนเรียบร้อยแล้ว) โรงฝึกงาน ๑ หลัง งบประมาณ ๑๙๐,๐๐๐ บาท ใช้เป็นห้องสมุด   ในปัจจุบัน 
              พ.ศ.๒๕๒๖ ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบสปช ๖๐๑/๒๖ จำนวน ๔ ที่นั่ง งบประมาณ ๗๗,๐๐๐ บาท 
              พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักภารโรง ๑ หลังแบบสปช.๓๐๔ งบประมาณ ๙๐,๐๐๐บาท
              พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับอนุมัติให้รื้ออาคารแบบ  ๐๐๔  ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘  และต่อเติมเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐  เพื่อสร้างอาคารแบบ  สปช. ๑๐๕/๒๖  อาคาร ๒  ชั้น  ขนาด  ๗  ห้องเรียน  ด้วยงบประมาณ ๑,๐๐๕,๐๐๐  บาท  คืออาคารเรียน ๔  ปัจจุบัน
              พ.ศ.๒๕๓๓ นายวิจิตร  ศศิวัจน์ไพสิฐ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช.๒๐๕/๒๖  งบประมาณ ๑,๐๖๐,๐๐๐ บาท  สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔  ได้รับงบประมาณสร้างถังน้ำซีเมนต์แบบ ฝ ๓๓ งบประมาณ  ๕๐,๐๐๐  บาท  คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนในเขตบริการ  ช่วยสร้างรั้วคอนกรีตด้านข้างทั้ง 
๒  ด้าน  ต่อเติมด้านหน้า  สร้างฉากเวทีอาคารอเนกประสงค์ ติดตั้งพัดลม  สร้างถนนคอนกรีต  ปรับร่องระบายน้ำในโรงเรียน
              พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับรางวัลที่ ๓ ประเภท โรงเรียนต้นแบบและห้องเรียนตัวอย่างของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอปัว  
              พ.ศ.๒๕๓๖ รางวัลชมเชยอันดับที่ ๑ การประกวดแข่งขันดนตรีไทย เขตการศึกษา ๘
              พ.ศ.๒๕๓๗  โรงเรียนจัดกิจกรรมดีเด่น ๓ รายการ คือ ห้องสมุดดีเด่น อันดับที่ ๑ ของจังหวัดน่าน
การขับร้องและบรรเลงดนตรีไทย ชนะเลิศอันดับที่ ๑ ของศูนย์วัฒนธรรมอำเภอปัว ได้รับโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะของจังหวัดน่าน 
              พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่จัดกิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนดีเด่น อันดับที่ ๑ ของจังหวัดน่าน และห้องสมุดดีเด่น ประเภทโรงเรียนขนาดกลางของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
              พ.ศ.๒๕๓๙  ได้รับอนุมัติให้เปิดขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นห้องเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านส้าน มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  จำนวน  ๓๐  คน
              วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ได้รับอนุมัติให้เปิดขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดน่าน   
              พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเครือข่ายสหวิทยาการภาษาอังกฤษ สปอ.ปัว  ได้รับรางวัลชนะเลิศการสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะของจังหวัดน่านและรางวัลรองชนะเลิศอันดับ๑ ของเขตการศึกษา ๘
              พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.๖๐๑/๒๖ ขนาด ๔ ที่นั่ง งบประมาณ ๑๑๑,๐๐๐ บาท สร้างสนามบาสเกตบอล งบประมาณ ๒๓๓,๐๐๐ บาท  ได้รางวัลห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบรอบ ๗๒   ได้รับเกียรติบัตรเป็นโรงเรียนสีขาวเฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติด  โรงเรียน
เครือข่ายสหวิทยาการภาษาอังกฤษดีเด่น ของ สปจ.น่าน   รางวัลชนะเลิศการสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะของจังหวัดน่าน และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ  ที่ ๒ ของเขตการศึกษา ๘ ปีนี้โรงเรียนบ้านต้นแหลง ได้ย้ายมาเรียนรวมกับโรงเรียนบ้านปรางค์ จำนวน ๒๗ คน
              พ.ศ.๒๕๔๓ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ขนาด ๔ ห้องเรียน ๑ หลังงบประมาณ ๑,๗๗๘,๐๐๐ บาท  คืออาคารเรียน ๕  ได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์ส่งเสริมการอ่านของอำเภอปัว รับเกียรติบัตรเหรียญทองโครงงานคณิตศาสตร์ ของ สปจ.น่าน  เหรียญเงินของเขตการศึกษา ๘ เป็นโรงเรียนแกนนำการสอนคอมพิวเตอร์จิตรลดาของ สปจ.น่าน
              พ.ศ.๒๕๔๔ ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง แบบ สปช.๑๐๕/๒๙ จำนวน ๔ ห้องเรียน เป็นเงิน ๓๒๔,๐๐๐ บาท โรงเรียนศูนย์การเรียนภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองของ สปจ.น่าน รับโล่รางวัลที่ ๑ การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะของจังหวัดน่าน  โรงเรียนแกนนำการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.)
              พ.ศ.๒๕๔๕ ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปัว โรงเรียนศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับตำบลของจังหวัดน่าน  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ ๑ โรงเรียนส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมของพระธาตุแช่แห้ง ผ่านการประเมินจาก สมศ.รอบแรก และเป็นโรงเรียนคุณภาพ ๕ ดาว ๑ กิจกรรมเด่น
ของ สปจ.น่าน และ สปช.
              พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ สปช.๖๐๑/๒๖ ขนาด ๖ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง งบประมาณ ๑๓๖,๓๕๐ บาท ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียน “๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน”  และได้ปรับปรุงป้ายโรงเรียนเป็นป้ายหินอ่อน
              พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ ๖๐๑/๒๖ ขนาด ๖ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลบ้านปรางค์ สร้างรั้งคอนกรีตหลังโรงเรียน งบประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ บาท โครงการเกษตรครบวงจร
ขุดบ่อเลี้ยงปลาและสร้างโรงเรือนเกษตร เป็นโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนต้นแบบการบริหารโรงเรียนของสถาบันพัฒนาผู้บริหาร
              พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับเกียรติบัตรรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี  โรงเรียนศูนย์พัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ ๑-๒ สพท.น่าน เขต ๒  โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดน่าน
              พ.ศ.๒๕๔๙ ได้รับการรับรองให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในฝันจากศูนย์บริหารโรงเรียนในฝัน ศูนย์เสาะหาและพัฒนาเด็กหัวแหลม : GTX NAN๑ ได้รับเกียรติบัตรรางวัลห้องสมุดดีเด่น อันดับที่๑ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา รับโล่รางวัล “โครงการเด็กไทยสดใส ร่วมใจกันออกกำลังกาย” จากกระทรวงศึกษาธิการ
              วันที่๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ นายกมล  จิตบุญ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปรางค์ได้ดำเนินการปรับระบบงานโรงเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
              พ.ศ.๒๕๕๑ ได้ร่วมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชนในเขตบริการ จัดหางบประมาณปรับปรุงภูมิทัศน์ ต่อเติมรั้วเหล็กดัด ซ่อมแซมถนนและห้องปฏิบัติการ ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน  โดยใช้งบประมาณ  ๓๕๕,๐๐๐ บาท ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบผู้นำการปลี่ยนแปลงของ สพท.น่าน เขต ๒ โรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบเครือข่ายอำเภอ โรงเรียนเครือข่ายแกนนำคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค โรงเรียนแกนนำยุวชนประกันภัยของกรมการประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ โรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หรือ ERIC Network Center อำเภอปัว
              พ.ศ.๒๕๕๒ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา  คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนในเขตบริการร่วมกันจัดหางบประมาณยกอาคารเรียนไม้ชั้นเดียวเป็นอาคารสองชั้น เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนห้องเรียน จำนวน ๓ ห้อง ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบนำร่องการใช้หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ และเป็นศูนย์พัฒนาแหล่งเรียนรู้โรงเรียนในฝัน
              พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. ๑๐๕/๒๙ ขนาด ๔ ห้องเรียน อาคารกึ่งถาวรกึ่งชั่วคราว สร้างเองชั้นเดียว ใช้วัสดุเก่า ๒ ห้องเรียน ๑ หลัง  สร้างสระว่ายน้ำ สำหรับนักเรียนอนุบาลและชั้นประถมศึกษาได้ฝึกประสบการณ์กีฬาว่ายน้ำ
              พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับงบประมาณจัดทำท่อระบายน้ำด้านหน้าอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๕/๒๙ และด้านข้างเอนกประสงค์ แบบ สปช.๒๐๕/๒๖ งบประมาณ ๔๙๐,๐๐๐ บาท ปรับปรุงห้องปฏิบัติการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ห้องสมุดโรงเรียน จัดหางบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๕/๒๙ เป็นห้องประชุมและต่อเติมอาคารเรียนแบบสร้างเอง ขนาด ๒ ห้องเรียน ๑ หลัง  ได้รับการคัดเลือกจาก สพฐ. ให้เป็นหน่วยเบิกจ่ายตรง สพฐ.
              วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕  นายอรัญ  วิเศษสุข ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปรางค์ ได้ปรับปรุงอาคารสถานที่ให้เพียงพอ ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้น่าอยู่ น่าเรียนและปลอดภัย  โรงเรียนศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN Study Center)  โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้ ASEAN Learning School ของ สพฐ.  โรงเรียนศูนย์ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและพัฒนาห้องสมุดอำเภอปัว ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบสาม (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้าน ปฐมวัย และประถมศึกษา-มัธยมศึกษา ระดับดีมาก
              พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ๓๒๔ล/๕๕-ข (เขตแผ่นดินไหว) ปีงบประมาณ ๒๕๕๗-๒๕๕๘ เป็นเงิน ๒๕,๖๐๑,๐๐๐ บาท ได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์พัฒนาการเรียน  การสอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา (PEER Center)  โรงเรียนในโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ รูปแบบ English Bilingual Education (EBE) ระดับประถมศึกษา เป็นระบบสองภาษา (ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย) ได้รับรางวัลสถานศึกษาร่วมใจ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ระดับประเทศ 
              พ.ศ.๒๕๕๗ โรงเรียนศูนย์แนะแนวของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๒  โรงเรียนต้นแบบ
การศึกษาภาคบังคับประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๒  โรงเรียนต้นแบบ ทรูปลูกปัญญา 
              พ.ศ.๒๕๕๘ เปิดโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ Mini English Program ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา และได้รับรางวัลศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา (PEER Center) ระดับดีมาก จาก สพฐ. โรงเรียนต้นแบบลูกเสือของ สพป.น่าน เขต ๒
              วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘  นายมนัส  คำชั่ง ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ดำเนินการปรับปรุง  พัฒนางานทั้ง ๔  ด้าน  ปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่อสนองต่อนโยบายของต้นสังกัด และรับรองการเข้าสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล
              พ.ศ.๒๕๕๙ ได้ดำเนินการรื้ออาคารเรียนแบบ  ป.๑ ซ (ไม้) และแบบ  ๐๐๔  ซึ่งได้รับอนุญาตให้
รื้อถอนและปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียน  โดยการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  ไม้ยืนต้น  จัดหาเครื่องเล่นสนาม จัดทำสนาม BBL  ปรับปรุงห้องประชุมเกียรติยศ ได้รับงบประมาณปรับปรุงระบบประปาในโรงเรียน  งบประมาณ  ๑๕๐,๐๐๐ บาท  ได้รับคัดเลือก
ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบทรูปลูกปัญญา จากบริษัททรูคอเปอเรชั่นโดยได้รับครุภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์ จำนวน  ๒๗  ชุด  ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบ สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอรัปชั่น  โรงเรียน STEM ศึกษา
              พ.ศ.๒๕๖๐ ได้ดำเนินการปรับปรุงห้องประชุมปรางค์แก้ว (ชั้นล่างอาคารเรียน แบบ ๓๒๔ล/๕๕-ข
(เขตแผ่นดินไหว)  โดยจัดทำเวที  ตกแต่งภายใน  ติดตั้งระบบเครื่องเสียง  ระบบเครื่องปรับอากาศ  ระบบไฟฟ้า  ระบบ ICT  ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียนและผู้อุปถัมภ์  จำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐  บาท  ได้เปิดขยายห้องเรียนพิเศษ MEP
ชั้นอนุบาล ๑  อนุบาล  ๒ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นชั้นเรียนละ ๒ ห้องเรียน เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น
              วันที่ ๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๖๑ นายชิต  คำชั่ง  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปรางค์ 



ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน




ที่ตั้ง / แผนผัง

โรงเรียนบ้านปรางค์
320 หมู่ 3 ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน 55120
โทรศัพท์ 054791011 โทรสาร 054791011